ชงอย่างไรถึงจะดีที่สุด ?
"ชงยังไงถึงจะอร่อยที่สุดสำหรับกาแฟตัวนี้"
"ผมอยากได้กาแฟที่หอม เข้ม ชงยังไงก็อร่อย ไม่มี ?แบบไม่ต้องยุ่งยาก"
🍮🍮 เราอยากจะเเนะนำก่อนว่า ต้องไม่คิดว่าทุกอย่างมันจะสมบูรณ์ เพอร์เฟค ได้ง่ายดายขนาดนั้น คนที่ชงาแฟอร่อยก็เช่นกัน
หากเราเข้าใจอะไรแบบเข้าใจมันจริง ๆ เเล้ว จะรู้ว่ามันเป็นคำถามที่ไม่ม่ีคำตอบที่ตายตัวได้เลย หรือตอบได้ยากมากๆ ตอบสั้น ๆ ไม่ได้เลยแหละ
ซึ่งเราคิดว่ามันเป็นกับทุก ๆ สิ่งบนโลกนะ
ไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรี การถ่ายรูป การวาดรูป การเล่นกีฬา ��หรืออะไรก็ตามที่ออกไปทางการนำเสนอในสิ่งที่เป็นปัจเจก และเฉพาะตัว�มันตอบได้ยากมากๆ
เพราะมันขึ้นอยู่กับว่า
"เราต้องการอะไร"
🥥
ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่เรื่องที่เราต้องทำมันยังไงถึงจะได้แบบที่เราต้องการ
ยกตัวอย่างง่ายๆ เรื่องการชงกาแฟ กับ การถ่ายรูปก็ได้ค่ะ การถ่ายรูปนั้น เราเล่นกับ Aperture , Speed Shutter, ISO เป็นหหลักของโครงสร้าง (ยังมีเรื่องอื่นอีก โดยย่อย เช่นเลนส์แบบนั้นนี้ เป็นต้น)
การชงกาแฟทุกรูปแบบ เน้นการเล่นกับ Dose , Yield , Time เป็นหลักของโครงสร้าง (ยังมีเรื่องอื่นอีก โดยย่อย เช่ยวิธีการที่ใช้สกัด หรือคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ เป็นต้น)
เเละเราไม่สามารถยึดโครงสร้างหลัก ทั้ง 3 สิ่งนี้ ใว้ตายตัวได้ตลอดไป ในทุก ๆ สถานการณ์ หรือถึงเเม้ว่าเราอยากจะยึด เเต่หลายๆครั้งมันก็ออกมาไม่ตรงตามที่เรายึดใว้ (แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่ดีนะ มันอาจจะดีกว่าก็ได้) โดยเฉพาะการสกัด espresso เราจึงต้องควบคุมมันได้
คือ เราจึงต้องคอยปรับเพื่อให้มันเป็นในแบบที่เราต้องการอยู่เรื่อย ๆ เสมอ ๆ
ทั้ง 2 เรื่อง ไม่ว่าจะถ่ายรูป หรือชงกาแฟ
เราต้องปรับเปลี่ยนมันไปตามสถานการณ์ ตามวัตถุดิบ เพื่อให้ได้สิ่งที่ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด
เเต่จะทำยังไงนั้น 🍋
มีหลายวิธี เเต่สิ่งที่เราเเนะนำมากที่สุดคือ ต้องศึกษาหาข้อมูลและทดลอง และจดบันทึกการทดลอง
ก็ให้ทำเหมือนเรา ถ่ายรูป เเบบ เช่นแบบสภาพเเสงเดิม ๆ ลองปรับ Iso ต่าง ๆ กันไปเรื่อยๆ และลองถ่ายออกมาดูว่าต่างกันยังไง , ลองปรับ Aperture ไปทื่ต่าง ๆ กัน เเละถ่ายออกมาเเล้วเป็นยังไง
และลองทำกับกาแฟแบบนั้น เช่น ตัวแปรอื่นเหมือนเดิม ลองบดต่างกันไปเรื่อย ๆ เเละชงดูเเละชิม เเละจดว่า ผลลัพธ์ต่างกันยังไงบ้าง มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง เเละก็เวียนลองเปลี่ยนตตัวแปรไปเรื่อย ๆ โดยที่แกนอื่นเหมือนเดิม (แน่นอน ต้องชั่ง ตวง วัด)
เเละรู้ว่าเเต่ละอย่างนั้นทำอะไรได้บ้าง เเละปรับเปลี่ยนเเล้วจะให้อะไร เมื่อเราลองบ่อย ๆ เราก็จะรู้ว่าหากออกมาแบบนี้ ต้องแก้แบบนี้ เเละแบบที่เราต้องการต้องทำอย่างไรเราจะเล่นกับเมล็ดกาแฟของเราได้เต็มที่ และควบคุมมันได้ เข้าใจเมล็ดได้ จากการฝึกฝน
เพราะจากการเเนะนำข้างถุง หรือคำแนะนำจากคนขายเมล็ดนั้น ไม่สามารถเอามายึดว่าดีที่สุดสำหรับเราได้ตลอดไป มันไม่ใช่คำตอบที่ตายตัวตลอดไป ทุกตัวเลขต้องขยับได้เพราะต่างเครื่อง ต่างอุปกรณ์ ต่างน้ำในการชง ต่างเมนูที่จะทำ ต่างเมล็ดกาแฟ เมล็ดกาแฟต่างระดับคั่ว ย่อมต้องการต่างกัน
คนชงที่ดี ต้องรู้จักและปรับเปลี่ยนเพื่อให้ตรงความต้องการที่สุดได้เพราะคนเเนะนำไม่ได้รู้ถึงอุปกรณ์ทุกอย่างที่เรามี
ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าท่านหนึง่ที่สอบถามเรามาว่า ทำใมกาแฟของเค้าที่ซื้อมาชงเเล้วไม่มีบอดี้เลย ใสจาง เหมือนน้ำ ทั้งๆที่ทำตาม ที่เค้าเเนะนำมา คุยไปมาจึงพบว่า น่าจะเป็นเพราะกาแฟ dose กาแฟที่มากไป (20 g.)
🍓🍓มันอาจจะเป็นปริมาณที่เหมาะกับอุปกรณ์ของคนที่แนะนำมา เพราะเค้าอาจจะใช้ Basket ที่ใหญ่กว่าเรา ? (เป็นได้อีกหลายอย่าง) ซึ่งเหมาะกับเค้า แต่มันไม่ได้เหมาะกับอุปกรณ์ของเรา Basket ของเราไม่สามารถใส่กาแฟได้มากเท่าเค้า เป็นต้น
โทโบะจึงเเนะนำให้ลองลด Dose ลงมาเเละลองชิมดู ผลปรากฏว่า กาแฟมีบอดี้ขึ้นมาเเละมีรสเเละสัมผัสที่ดีขึ้น จากการบ่นๆเมล็ดกาแฟก็ถึงบางอ้อ ว่า การชงนั้นสำคัญขนาดไหน
การชั่ง ตวง วัด สำคัญขนาดไหน หากเรามีเมล็ดดี ๆ การทำแบบไม่สนใจอะไรเลย บด กดปุ่ม จบ ก็อาจจะได้รสทื่ดีกว่าเมล็ดกาแฟที่คุณภาพต่ำ เเต่ มันไม่ได้ดีที่สุด หรือดีพอ เราอาจจะได้ใช้ศักยภาพของมันเพียง 10%
หรืออาจจะรู้สึกแย่ไปเลยเพราะรู้สึกเปรี้ยวเกินไป 5555
เพราะเมล็ดที่คุณภาพสูงมักจะไม่นิยมคั่วจนไหม้ หรือลึกเกินไป การปรับระดับบดที่หยาบเกินไป อาจจะทำให้ผู้ดื่มรู้สึกว่า เปรี้ยวววว (ซึ่งนั่นไม่ใช่ปัญหาของเมล็ด เเต่เป็นเพราะปัญหาจากการสกัด ที่เราไม่สามารถควบคุมเเละปรับจูนมันให้อยู่ในช่วงที่ทำให้มันออกมารสชาติมีคุณภาพได้)
สรุปว่า 🍓
เป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะไม่ต้องรู้หลักการของการสกัดกาแฟ และจะสามารถชงกาแฟออกมาได้ดีมีคุณภาพ ตลอดไป
เพราะไม่มีเมล็ดกาแฟบนโลกนี้ ที่ชงมั่ว ๆ แล้วจะดีได้ ตลอด อาจจะบังเอิญอร่อยได้วันสองวัน เเต่สุดท้ายมันก็จะไม่เหมือนเดิมอยู่ดี